ผลิต Thermocouple and RTD PT100 เทอร์โมคัปเปิล อาร์ทีดี
รูปแบบของเทอร์โมคัปเปิล และ อาร์ทีดี PT100
นอกเหนือจากแบบดังกล่าวสามารถโทรให้ไปรับตัวอย่าง มาเพื่อทำการเสนอราคาได้ครับ จัดทำโดยช่างผู้ชำนาญงาน
โทร. 02-1011230, 02-1011231, 02-1011232
ID Line: ies.88
ID Line: 086-3693970
TH-01
|
TH-02
|
|
|
TH-02
|
TH-03
|
|
|
TH-04
|
TH-05
|
|
|
TH-06
|
TH-07
|
|
|
TH-08
|
TH-09
|
|
|
TH-10
|
TH-11
|
|
|
TH-12
|
TH-13
|
|
|
เทอร์โมคัปเปิล คืออะไร? มีคำตอบ
เทอร์โมคัปเปิล อาร์ทีดี / Thermocouple / RTD / Pt100
เทอร์โมคัปเปิล คือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ หรือเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือความร้อนให้สัญญานที่เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) Thermocouple
ซึ่งจะประกอบด้วย ลวดตัวนำ 2 ชนิด ที่มีความแตกต่างกันทางโครงสร้างของอะตอม เช่น ตัวอย่างโลหะผสมที่เกิดขึ้น เช่น โครเมล (Cromel) คือ โลหะผสมของ นิกเกิ้ล 90% และ โครเมี่ยม 10% ,
อลูเมล (Alumel) คือ โลหะผสมของ นิกเกิ้ล 95% อลูมิเนียม 2% แมงกานิส 2% และ ซิลิคอน 1%, คอนสแตนแตน (Constantan) คือ โลหะผสมของ ทองแดง 60% และ นิกเกิ้ล 40% เป็นต้น
นำมาเชื่อมปลายทั้ง 2 เข้าด้วยกัน โดยเรียกปลายนี้ว่า จุดสำหรับทำการวัด Measuring point หรือ Hot junction
(จุดวัดอุณหภูมิ) ซึ่งเป็นจุดที่ใช้วัดอุณหภูมิ และจะมีปลายอีกข้างหนึ่งของลวดโลหะปล่อยว่าง ซึ่งเรียกว่า Cold junction (จุดอ้างอิง) ซึ่งหากจุดวัดอุณหภูมิ และจุดอ้างอิง มีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง
เทอร์โมคัปเปิล
ยังถูกแบ่งออกเป็นชนิด ต่างๆ เป็นแต่ละ Type เช่น เทอร์โมคัปเปิลชนิด K (Thermocouple Type k), เทอร์โมคัปเปิลชนิด J (Thermocouple Type J), เทอร์โมคัปเปิลชนิด R (Thermocouple Type R) ,หรือ RTD Pt100 เป็นต้น จากลักษณะดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้เทอร์โมคัปเปิลให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีตัวอย่างดังนี้ เช่น ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน, ความกัดกร่อนของสารที่นำเทอร์โมคัปเปิลไปใช้ และ ราคา ให้เหมาะสมของงานแต่ละประเภท
ผลิตและจำหน่าย Thermocouple,เทอร์โมคัปเปิล,PT100,RTD,ฮีตเตอร์ต้มน้ำ,ฮีตเตอร์จุ่ม,ฮีตเตอร์แท่ง,ฮีตเตอร์แผ่น,ฮีตเตอร์รัดท่อ,ฮีตเตอร์ทุกชนิด
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)
เทอร์โม คัปเปิล คืออุปกรณ์วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรง เคลื่อนไฟฟ้า (emf) เทอร์โมคัปเปิลทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว (แตกต่างกันทางโครงสร้างของอะตอม) นำมาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันที่ปลายด้านหนึ่ง เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิง หากจุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวง จรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้ค้นพบโดย Thomus Seebeck นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันในปี ค.ศ.1821 ในรูปที่2 เป็นวงจรที่ใช้อธิบายผลของซีแบ็คดังกล่าว
(Termoelectric Effect)
ทฤษฎีพื้นฐานของผลจากเทอร์โมอิเล็กทริก เกิดจากการส่งผ่านทางไฟฟ้าและทางความร้อนของโลหะที่ต่างกันจึงทำให้เกิดความ ต่างศักย์ทางไฟฟ้าตกคร่อมที่โลหะนั้น ความต่างศักย์นี้จะสัมพันธ์กับความจริงที่ว่า อิเล็กตรอนในปลายด้านร้อนของโลหะจะมีพลังงานความร้อนมากกว่าปลายทางด้านเย็น จึงทำให้อิเล็กตรอนมีความเร็วไปหาปลายด้านเย็น ที่อุณหภูมิเดียวกันนี้การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะแปลเปลี่ยนไปตามโลหะที่ ต่างชนิดกันด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า โลหะที่ต่างกันจะมีการนำความร้อนที่ต่างกันนั่นเอง
1.ผลของซีแบ็ค (Seebeck Effect) โดยใช้ทฤษฎีโซลิดสเตด เราสามารถวิเคราะห์ค่าได้จากสมการอินทิเกรตค่าจากย่านของอุณหภูมิดังกล่าว นั่นคือ