ชนิดของอาร์ทีดี (Type of RTD)
1. แพลทินัม เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด เขียนบอกไว้เป็น PT ได้แก่ PT-10, PT-100,
PT-1000 ความสามารถในการทำซ้ำสูง แต่ความไวต่ำ ราคาแพงมากเมื่อเทียบกับนิกเกิลซึ่งมี ความ
สามารถในการทำซ้ำน้อย แต่มีความไวมากกว่า และราคาถูกกว่า
2. ทองคำและเงิน ธาตุทั้งสองมีค่าความต้านทานจำเพาะต่ำ
3. ทังสเตนมีค่าความต้านทานจำเพาะสัมพัทธ์สูง มักใช้กับการวัดอุณหภูมิที่มีค่าสูง
เพราะ หากใช้ที่อุณหภูมิปกติจะมีความเปราะและยากต่อการใช้งาน
4. นิกเกิล ใช้กับย่านวัดอุณหภูมิสูงๆ มีความเป็นเชิงเส้นต่ำ ทำให้เกิดค่าดริฟต์ (drift)
กับเวลา นอกจากนี้ยังมีวัสดุชนิดอื่นๆ ที่ใช้ทำอาร์ทีดี ได้แก่ เหล็ก เป็นต้น
คุณลักษณะของอาร์ทีดี (Characteristic of RTD)
1. ความไว (Sensitivity) ความไวของอาร์ทีดีหาได้จากค่าของ พบว่าแพลทินัมจะมีค่า = 0.00385 / /0C (ประมาณ 0.004/0C ) ดังนั้น สำหรับแพลทินัมอาร์ทีดีแบบ 100 จึงเปลี่ยนค่าความต้านทานไปเพียง 0.4 เท่านั้น หากอุณหภูมิเปลี่ยนไป 1000C
2. ผลตอบสนองต่อเวลา (Response Time) เวลาในการตอบสนองของอาร์ทีดีเกิดจากการนำความร้อน โดยทั่วไปเวลาคงที่จะกำหนดโดยสภาวะอากาศอิสระ (หรือสภาวะใดๆ ที่สมมูลกัน) หากว่าหากมันอยู่ในฝักป้องกัน (sheath) มันจะสัมผัสความร้อนได้ไม่ดีจึงทำให้ได้ผลตอบสนองต่อเวลาช้า
3. โครงสร้าง (Construction) แน่นอนว่าอาร์ทีดีที่มีความยาวของสายมาก จะทำให้ความต้านทานเป็นฟังก์ชันกับอุณหภูมิมาก
4. การปรับสภาพสัญญาณ (Sine Conditioning)
5. ค่าคงที่ในการสูญเสีย (Dissipation Constant)
6. ย่านการใช้งาน (Range) ย่านประสิทธิผลการใช้งานของอาร์ทีดีจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้เป็น อุปกรณ์แอกทีฟ พบว่า อาร์ทีดีแบบแพลทินัมจะมีย่านใช้งานจาก -1000C ถึง 6500C ในขฯะที่อาร์ทีดีที่ทำจากนิกเกิลจะมีช่วงใช้งานจาก -1800C ถึง 3000C
ข้อควรจำในการวัดอุณหภูมิโดยใช้อาร์ทีดี คือ
1. ต้องมีการชีลด์สายและเดินสายบิดเกลียวเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
2. อาร์ทีดีมีความเปราะบาง จึงต้องป้องกันและระวังการใช้งาน
3. เนื่องจากที่อาร์ทีดีไม่สามารถกำเนิดพลังได้เหมือนกับเทอร์โมคัปเปิล จึงทำให้มีกระแสไหลผ่านและเกิดผลของความร้อนจูล (I2R)กับตัวมันเอง
Thermocouples
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวัดอุณหภูมิ ที่เปลี่ยนค่าของตัวแปรทางกายภาพจากความร้อนมาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยใช้หลักการของ Seebeck effect กล่าว คือ นำลวดโลหะหรืออาจเป็นโลหะผสมสองเส้นต่างชนิดกัน มาต่อเข้าด้วยกันโดยเชื่อมปิดปลายทั้งสองแล้วนำปลายทั้งสองของขดลวดวางอยู่ ในที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันจะส่งผลให้เกิดค่าความต่างศักย์ระหว่างรอยต่อทั้ง สองข้างและเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรได้
กฎการทำงานของ Thermocouple จะมีสามกฎใหญ่ๆคือ
1.กฎของโลหะชนิดเดียว(Law of the homogeneous circuit) : ในวงจรที่ประกอบขึ้นด้วยโลหะชนิดเดียวกันจะไม่เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรเมื่อ เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ ณ ปลายจุดต่อทั้งสองด้าน แต่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลถ้าเป็นโลหะต่างชนิดกัน
2.กฎของโลหะแทรก(Law of intermediate metals) : ในวงจร Thermocouple ถ้ามีโลหะแทรกในส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรและที่ปลายจุดต่อมีค่าอุณหภูมิเท่า กันแล้ว โลหะแทรกนี้จะไม่มีผลต่อแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
3.กฎของอุณหภูมิแทรก(Law of intermediate temperature ) : ในวงจร Thermocouple ชุดใดๆที่มีอุณหภูมิ ณ ปลายจุดต่อต่างกันผลรวมของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเท่ากับผลรวมของแรง เคลื่อนไฟฟ้าของวงจรย่อยหลายๆวงจรรวมกัน